งานสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่องความปลอดภัยทางถนน “ทศวรรษแห่งการลงมือทำ: Time for Action”

งานสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่องความปลอดภัยทางถนน “ทศวรรษแห่งการลงมือทำ: Time for Action”



24 พ.ย. 2561 1548 แผนงาน : ศวปถ.& มนป.


งานสัมมนาระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่องความปลอดภัยทางถนน “ทศวรรษแห่งการลงมือทำ: Time for Action” วันที่ 25-26 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีขับเคลื่อนการทำงานเชิงบูรณาการ โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา ภาคประชาชนและเอกชน ฯลฯ ในงานมีกิจกรรมมากมาย ทั้งการรณรงค์สวมหมวกนิรภัย เวทีวิชาการ การจัดนิทรรศการ การประกวดผลงานวิชาการ การจัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ฯลฯ

โดยมีการแบ่งเวทีวิชาการเป็นประเด็กหลักๆ ดังนี้ 1) การแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อถนนปลอดภัย 2) พลังผู้บริโภค เพื่อรถสาธารณะปลอดภัย 3) เดินทางปลอดภัย ไม่ไกลเกินฝัน 4) สถานประกอบการปลอดภัยห่างไกลอุบัติเหตุทางถนน 5) ลดอุบัติเหตุทางถนน เริ่มต้นด้วยกฎหมาย สุดท้ายรวมใจชุมชนท้องถิ่น 6) ตัวเล็กใจใหญ่ ผู้นำความปลอดภัยทางถนน

ข้อเสนอแนะ

1) สร้างกลไกการจัดการและความร่วมมือที่มีอิสระ เพื่อสร้างมาตรฐาน คน-รถ-ถนน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐที่เข้มแข็ง มีอิสระ มีงบประมาณสนับสนุน มีบุคลากรมืออาชีพ จะเป็นหลักประกันให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล

2) ถนนและสิ่งแวดล้อม ที่เน้นความปลอดภัยที่สอดคลองกับคนในพื้นที่ จากการประเมินความปลอดภัยเป็นประจำของรัฐและประชาชน

3) มาตรฐานรถปลอดภัย ทั้งรถจักรยานยนต์ รถนักเรียน รถสาธารณะ รวมทั้งอุปกรณ์และระบบความปลอดภัยในรถ โดยเฉพาะเบรก ควรมีแผนหลักแห่งชาติในการพัฒนาขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมทั้งประเทศอย่างจริงจัง และรวดเร็ว

4) เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคควรเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบและเสนอแนะมากยิ่งขึ้น

5) มาตรฐานพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัย ที่ได้รับการกำกับดูแลจากทุกเครือข่าย โดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชน โรงงาน ภาคเอกชนทั้งบริษัทรถ และบริษัทประกันภัย สื่อมวลชนและพลังท้องถิ่นชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง

6) นำสารสนเทศจากระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งนอกและในโรงพยาบาล ชี้นำ ชักชวน เครือข่ายต่างๆ (ประชารัฐ) ช่วยกันปราบความเสี่ยงให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

7) การบริการหลังเกิดเหตุได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทั่วถึงทั้งประเทศ 

งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : http://issuu.com/roadsafetythailand/docs/acc_54031

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved