โครงการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ วงรอบที่ 3 จังหวัดภูเก็ต เป็นโครงการต่อเนื่องจากการทำงานแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจังหวัดภูเก็ตวงรอบที่ 1 ในปีพ.ศ. 2551 โดยใช้ข้อมูลจาก Dead case conference มาเป็นจุดเชื่อมและเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร และวงรอบที่ 2 ในปีพ.ศ. 2552-2553 ยังคงวางแนวทางการทำ Dead case conference แต่เพิ่มการใช้ข้อมูลจากรายงานของโรงพยาบาลและตารวจ สำหรับวงรอบที่ 3 ในปีพ.ศ. 2554 คณะผู้วิจัยเพิ่มการใช้ข้อมูลจุดเสี่ยงจากสถานีตารวจภูธรทุกแห่งมาเป็นจุดเชื่อม ประสานการบูรณาการงบประมาณ เพื่อการแก้ไขด้านวิศวกรรมจราจรทั้งจังหวัด ใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะเรื่อง (หมวก เมา ย้อนศร) ความคิดเห็นชุมชนและเยาวชน มาสร้างความมีส่วนร่วมและกระตุ้นชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมวางเป้าหมายและแนวทางการแก้ไขปัญหาฯ ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงและการสวมหมวกนิรภัยทั้งจังหวัด และเริ่มเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ดื่มแล้วขับ
หลังดำเนินงานในวงรอบที่ 3 ภาคีเครือข่ายการดำเนินงานจากจำนวน 16 หน่วยงานเป็น 20 หน่วยงาน จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 37.0 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ดัชนีการเสียชีวิตลดลงจาก 0.0133 เป็น 0.0087 (ปี 2550 และ 2554 ตามลาดับ)