โครงการเวทีเสวนาวิชาการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557
“ยกเครื่องรถโดยสารสาธารณะไทย ด้วยระบบการประกันภัยและชดเชยเยียวยา”
ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรม เซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ
ความเป็นมา
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการอัตราการเสียชีวิตของประเทศไทยจากอุบัติเหตุทางถนน ในปี 2010 สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศ Niue และสาธารณรัฐโดมินิกัน สอดคล้องกับผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกนที่ระบุว่าปี 2008 ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศนามิเบีย
หากพิจารณาข้อมูลมรณบัตรของประเทศไทย ปี 2543-2552 พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มมีการนำข้อมูล
มรณบัตรมาตรวจทานกับหนังสือรับรองการตายในปี 2553 ตัวเลขผู้เสียชีวิตกลับเพิ่มสูงขึ้นจาก 9,490 คน เป็น 13,766 คน หรือคิดเป็นอัตราจากร้อยละ 15 เพิ่มเป็นร้อยละ 21.61 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยอุบัติเหตุที่เกิดกับรถโดยสารสาธารณะ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะทั้งประจำทางและไม่ประจำทางในแต่ละครั้ง ผลกระทบที่เกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้โดยสารผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในภาพรวมของระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทย
ภาพรวมสถานการณ์ที่ผ่านมา ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในรอบ 1 ปี (ตุลาคม 2555 – กันยายน 2556) มีจำนวนอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทั้งสิ้น 4,230 ครั้ง แบ่งเป็น รถโดยสารขนาดใหญ่ 829 ครั้ง และรถโดยสารขนาดเล็กมากถึง 3,401 ครั้ง หรือเฉลี่ย 11.5 ครั้ง/วัน และจากการเก็บรวบรวมจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน พบว่า มีผู้เสียชีวิตเนื่องด้วยอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะจำนวน 160 คน หรือเฉลี่ย แต่ละเดือนมีผู้เสียชีวิตมากถึง 13 ราย และอีก 1,923 รายได้รับบาดเจ็บที่ต้องได้รับการดูแลรักษาและชดเชยเยียวยาจากอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ปัจจุบัน ระบบการชดเชยเยียวยาผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะของไทย ยังพบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิเช่น การขาดความรู้เรื่องสิทธิของผู้โดยสารที่ประสบเหตุ การชดเชยเยียวยาที่ไม่เป็นธรรมจากบริษัทประกันภัย และผู้ประกอบการขนส่งรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงการขาดคำแนะนำในกรณีที่เป็นคดีความฟ้องร้องในชั้นศาล และประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการพิจารณา คือ การชดเชยเยียวยายังไม่มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนการขาดรายได้ และค่าชดเชยอื่นๆ
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ระบบประกันภัยอุบัติเหตุในปัจจุบันควรได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องและครอบคลุมสิทธิของผู้ประสบเหตุอย่างเร่งด่วน ทั้งในส่วนของประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ ตลอดจน การยกระดับบทบาทของบริษัทประกันภัยและกลไกการเชื่อมโยงความรับผิดชอบของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยบรรเทาความสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินของผู้ประสบเหตุจากรถโดยสารสาธารณะซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น หากได้รับการป้องกันก่อนเกิดเหตุ
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และ สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดเวทีเสวนาวิชาการ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 ภายใต้หัวข้อ “ยกเครื่องรถโดยสารสาธารณะไทย ด้วยระบบการประกันภัยและชดเชยเยียวยา” ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสะท้อนปัญหาระบบการประกันภัยและการชดเชยเยียวยาของผู้ประสบเหตุจากรถโดยสารสาธารณะทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ให้กับภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ทราบความตึงเครียดของสถานการณ์ในปัจจุบันของผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมข้อเสนอและมาตรการแก้ไขที่ได้จากการศึกษาวิจัย โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน ต้องการให้ข้อมูล องค์ความรู้ กระตุ้นผู้ที่ได้รับผลกระทบ และประชาชนทั่วไป ทราบถึงสิทธิความปลอดภัยของตนเองเมื่อใช้บริการรถโดยสารสาธารณะอันจะเป็นรากฐานสำคัญของการเรียกร้องให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะอย่างยั่งยืน
กำหนดการวันที่ 3 ธันวาคม 2557
9.00 – 11.30 น. |
การนำเสนอผลงานวิชาการ “อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ : ผลกระทบจากระบบประกันภัย และการชดเชยเยียวยา” โดย 1. ศาสตราจารย์ ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2. ดร.สุเมธ องกิตติกุล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 3. คุณสวนีย์ ฉ่ำเฉลียว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
|
ประธาน คุณอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ กรมการขนส่งทางบก ผู้อภิปราย 1.ศาสตราจารย์ นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 2.คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ |
11.30 – 12.00 น. |
วิสัยทัศน์/ทิศทาง “การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะไทย” โดย คุณธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก - คำกล่าววิสัยทัศน์และทิศทาง - PPT นำเสนอบนเวที |
12.00 – 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 13.07 น. |
VTR นำเสนอสถานการณ์ปัญหาความไม่ปลอดภัยของรถทัศนาจรสำหรับสถานศึกษา |
13.07 – 14.00 น. |
การนำเสนอผลงานวิชาการ ช่วงที่ 1“การจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยรถทัศนาจรที่เหมาะสมกับสถานศึกษา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนวงศ์ รัตนวราห มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
14.00 – 15.00 น. |
การนำเสนอผลงานวิชาการ ช่วงที่ 2 “การทำสัญญาจ้างรถทัศนาจรอย่างไรให้ปลอดภัย” โดย คุณเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
|
ประธาน ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้อภิปราย 1.ศาสตราจารย์ นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 2.ศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ VTR ความปลอดภัยการทดสอบรถทัศนาจรต่างประเทศ ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ |
15.00 – 16.00 น. |
เสวนาวิชาการ “การจัดการรถทัศนาจรที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับสถานศึกษา” โดย 1. คุณวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 2. คุณเสมอแข พัวภูมิเจริญ โรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ |
16.00 – 16.30 น. |
สรุปผลเวทีเสวนา “ยกเครื่องรถโดยสารสาธารณะไทย ด้วยระบบประกันภัยและการชดเชยเยียวยา” / ปิดการประชุม โดย นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน |