ดุสิตโพลชี้ ประชาชน87เปอร์เซ็นต์เห็นด้วย "ดื่มขับกระทำผิดซ้ำ ต้องไม่รอลงอาญา"  


28 พ.ค. 2564 3972 แผนงาน : การบังคับใช้กฎหมาย   


บทสรุปผู้บริหาร

     ในปี 2560 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการยื่นเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาหลักกฎหมายจราจรให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์เรื่อง
อุบัติเหตุทางถนน สภาพสังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อมุ่งเน้นในการสร้างความปลอดภัยบนถนนอย่างเป็น
ระบบและยั่งยืน เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน สวนดุสิตโพล ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อประเด็น “ดื่มแล้วขับ” ที่กระทำผิดซ้ำ" ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับาตรกำรและกฎหมายจราจร
2. เพื่อสำรวจพฤติกรรมและควำมคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการและกฎหมายจราจร รวมทั้งความคิดเห็นต่อการเพิ่มโทษและมาตรการการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์

ขอบเขตการสำรวจ

     การสำรวจครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) โดยมีกลุ่มตัวอย่ำง คือ คนไทยที่มีอำยุ 18 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 16จังหวัด ทุกภูมิภาค ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ระยอง อยุธยา สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมรำช สำรวจได้จำนวน 2,152 ตัวอย่าง เครื่องมือใช้ คือแบบสำรวจ

     การเก็บข้อมูล 1) ลงพื้นที่สำรวจ (Field work) /ใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว

                            2) สำรวจออนไลน์ (Facebook Twitter Line) โดยส่งต่อ (Share) Link หรือ แสกน QR code เพื่อตอบแบบ

     โดยสำรวจระหว่างวันที่ 15- 28 กุมภาพันธ์ 2564

สรุปผลการสารวจ

     จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,152 คน จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.04 เพศหญิง ร้อยละ 47.96 มี กลุ่มอายุ 36-45 ปีมากที่สุดร้อยละ 22.82 รองลงมาคือ อายุ 18-25 ปี และอายุ 26-35 ปี มีอาชีพรับจ้าง ธุรกิจ/ค้าขาย และข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง (ตะวันออกและตะวันตก) และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 97 มีพฤติกรรมการขับขี่พาหนะ ด้านพฤติกรรมการดื่มและประสบการณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 69.89 กลุ่มตัวอย่างเคยพบเห็นเหตุการณ์การขับรถขณะเมาสุรา ร้อยละ 56.37 เคยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการขับรถขณะเมาสุรา ร้อยละ 36.11 และมีญาติ/เพื่อที่ได้รับความเสียหาย/บาดเจ็บร้อยละ 52.14

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารฉบับเต็ม

 

อารียา เวชกามา (ผู้ช่วยนักวิจัย)

บรรณาธิการ 

 

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved