ครม. มีมติ ความปลอดภัยทางถนน เป็นวาระจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น
แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 (ศปถ.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนนเสนอ แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562
เรื่อง แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 (ศปถ.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนนเสนอ แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และอำเภอ ใช้เป็นกรอบแนวทางใน การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. หัวข้อในการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”
2. ช่วงเวลาการดำเนินการ กำหนดเป็น 2 ช่วง ดังนี้
2.1 ช่วงเตรียมความพร้อมและการรณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม 2561
2.2 ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2561 – 2 มกราคม 2562
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อกำหนดเป้าหมาย มาตรการ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในการบูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และป้องกันการเกิดอุบัติภัยอื่นๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่
3.2 เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง นำแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ไปเป็นแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ
3.3 เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ทุกระดับในช่วงเทศกาลปีใหม่
4. การประเมินความเสี่ยง
ศปถ. ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 มาวิเคราะห์ จากจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561) โดยกำหนดให้มีระดับของความเสี่ยง 4 ระดับ ดังนี้
สีแดง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวัน ขึ้นไป
สีส้ม หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ตั้งแต่ 1.00 – 1.99 ครั้งต่อวัน
สีเหลือง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ตั้งแต่ 0.01 – 0.99 ครั้งต่อวัน
สีเขียว หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลเท่ากับ 0.00
ผลการประเมินความเสี่ยงในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561
ลำดับ ระดับความเสี่ยง ช่วงเทศกาลปีใหม่
1 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีแดง จำนวน 35 อำเภอ
2 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีส้ม จำนวน 109 อำเภอ
3 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเหลือง จำนวน 687 อำเภอ
4 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเขียว จำนวน 47 อำเภอ
5. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านคน ถนน ยานพาหนะและสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 มาตรการหลัก และ 1 มาตรการเสริม ดังนี้
มาตรการ / สาระสำคัญ / หน่วยงานหลัก
1. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน
- การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง
- ด้านสังคมและชุมชน เช่น ให้สมาชิกในครอบครัว คอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัว
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน
- การดำเนินการด้านมาตรการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ให้หน่วยงานรัฐกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านวินัยจราจร
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- กระทรวงคมนาคม (คค.)
- กรมสรรพสามัต
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- จังหวัด
- อำเภอ
- กรุงเทพมหานคร (กทม.)
- สำนักงานเขต
- หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- ทุกส่วนราชการ
2. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม
- มาตรการถนนปลอดภัย “1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย”โดยให้ อปท. ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย
- ให้จัดเตรียมช่องทางพิเศษ ทางเลี่ยงทางลัดและจัดทำป้ายเตือนป้ายแนะนำต่าง ๆ ให้ชัดเจน
- ให้จังหวัดจัดให้มีจุดพักรถและจุดบริการต่าง ๆ
- ให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สัญญาณไฟจราจร เสาป้าย
- คค.
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ตช.
- กรมชลประทาน
- จังหวัด
- กทม.
- อปท.
3. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ
- กำหนดมาตรการ แนวทาง เพื่อกำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานประจำรถ
- ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งให้หยุดประกอบกิจการหรือหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการในช่วงเทศกาลปีใหม่
- เข้มงวด กวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน
- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง รวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย
- คค.
- จังหวัด
- กทม.
4. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ
- จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
- จัดเตรียมความพร้อมของระบบการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบเหตุ ณ จุดเกิดเหตุของแต่ละพื้นที่
- ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ
- สธ.
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- ตช.
- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย
- บริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
- กทม.
- จังหวัด
- อำเภอ
- อปท.
5. มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ
- ให้ คค. บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัด (เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ) กทม. อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติต่าง ๆ
- คค.
- จังหวัด (เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ)
- กองบังคับการตำรวจน้ำ
- กทม.
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
6. มาตรการดูแลความปลอดภัย
- ให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกทม. พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในช่วงเทศกาลปีใหม่
- จังหวัด
- กทม.
7. มาตรการเสริม
- ในพื้นที่อำเภอสีแดงและสีส้ม ให้เข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ
- ให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัดและอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น
- ให้ ศปถ. จังหวัดและกทม. จัดตั้งคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา นำเสนอต่อคณะกรรมการศปถ. จังหวัด/กทม. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ แนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป
- จังหวัด
- อำเภอ
ทั้งนี้ ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ อปท. ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตามคำสั่งของ อปท.
เรื่อง แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 (ศปถ.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการ ความปลอดภัยทางถนนเสนอ แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบแผนบูรณาการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และอำเภอ ใช้เป็นกรอบแนวทางใน การดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. หัวข้อในการรณรงค์ “ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร”
2. ช่วงเวลาการดำเนินการ กำหนดเป็น 2 ช่วง ดังนี้
2.1 ช่วงเตรียมความพร้อมและการรณรงค์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม 2561
2.2 ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2561 – 2 มกราคม 2562
3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อกำหนดเป้าหมาย มาตรการ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในการบูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และป้องกันการเกิดอุบัติภัยอื่นๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่
3.2 เพื่อให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง นำแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 ไปเป็นแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ
3.3 เพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ทุกระดับในช่วงเทศกาลปีใหม่
4. การประเมินความเสี่ยง
ศปถ. ได้นำหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในระดับพื้นที่ตามระบบการเตือนภัยของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 มาวิเคราะห์ จากจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561) โดยกำหนดให้มีระดับของความเสี่ยง 4 ระดับ ดังนี้
สีแดง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อวัน ขึ้นไป
สีส้ม หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูงโดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ตั้งแต่ 1.00 – 1.99 ครั้งต่อวัน
สีเหลือง หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ตั้งแต่ 0.01 – 0.99 ครั้งต่อวัน
สีเขียว หมายถึง สถานการณ์อยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลเท่ากับ 0.00
ผลการประเมินความเสี่ยงในช่วงเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – 2561
ลำดับ ระดับความเสี่ยง ช่วงเทศกาลปีใหม่
1 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีแดง จำนวน 35 อำเภอ
2 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีส้ม จำนวน 109 อำเภอ
3 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเหลือง จำนวน 687 อำเภอ
4 อำเภอในระดับความเสี่ยงสีเขียว จำนวน 47 อำเภอ
5. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน
ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2562 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านคน ถนน ยานพาหนะและสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 มาตรการหลัก และ 1 มาตรการเสริม ดังนี้
มาตรการ / สาระสำคัญ / หน่วยงานหลัก
1. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน
- การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง
- ด้านสังคมและชุมชน เช่น ให้สมาชิกในครอบครัว คอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัว
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน
- การดำเนินการด้านมาตรการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ให้หน่วยงานรัฐกำชับเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านวินัยจราจร
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- กระทรวงคมนาคม (คค.)
- กรมสรรพสามัต
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- จังหวัด
- อำเภอ
- กรุงเทพมหานคร (กทม.)
- สำนักงานเขต
- หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- ทุกส่วนราชการ
2. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม
- มาตรการถนนปลอดภัย “1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย”โดยให้ อปท. ทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยและสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดตัดรถไฟ และดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย
- ให้จัดเตรียมช่องทางพิเศษ ทางเลี่ยงทางลัดและจัดทำป้ายเตือนป้ายแนะนำต่าง ๆ ให้ชัดเจน
- ให้จังหวัดจัดให้มีจุดพักรถและจุดบริการต่าง ๆ
- ให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สัญญาณไฟจราจร เสาป้าย
- คค.
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ตช.
- กรมชลประทาน
- จังหวัด
- กทม.
- อปท.
3. มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ
- กำหนดมาตรการ แนวทาง เพื่อกำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ และรถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานประจำรถ
- ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งให้หยุดประกอบกิจการหรือหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการในช่วงเทศกาลปีใหม่
- เข้มงวด กวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน
- รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ผู้ขับขี่ ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง รวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย
- คค.
- จังหวัด
- กทม.
4. มาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ
- จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยกู้ชีพ และกู้ภัย ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ ประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน
- จัดเตรียมความพร้อมของระบบการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบเหตุ ณ จุดเกิดเหตุของแต่ละพื้นที่
- ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ
- สธ.
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- ตช.
- กระทรวงยุติธรรม
- สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย
- บริษัทกลางคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
- กทม.
- จังหวัด
- อำเภอ
- อปท.
5. มาตรการความปลอดภัยทางน้ำ
- ให้ คค. บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัด (เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ) กทม. อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติต่าง ๆ
- คค.
- จังหวัด (เฉพาะจังหวัดที่มีการสัญจรทางน้ำและแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ)
- กองบังคับการตำรวจน้ำ
- กทม.
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
6. มาตรการดูแลความปลอดภัย
- ให้จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกทม. พิจารณาหามาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษตามความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในช่วงเทศกาลปีใหม่
- จังหวัด
- กทม.
7. มาตรการเสริม
- ในพื้นที่อำเภอสีแดงและสีส้ม ให้เข้มงวด กวดขัน และกำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ
- ให้มีรางวัลสนับสนุนการปฏิบัติงานกับจังหวัดและอำเภอที่มีสถิติผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนดีเด่น
- ให้ ศปถ. จังหวัดและกทม. จัดตั้งคณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา นำเสนอต่อคณะกรรมการศปถ. จังหวัด/กทม. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ แนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป
- จังหวัด
- อำเภอ
ทั้งนี้ ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานในการดำเนินงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สำหรับ อปท. ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนตามคำสั่งของ อปท.