กระบวนการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและการจัดการความเสี่ยง


21 ธ.ค. 2561 3842 แผนงาน : สถานประกอบการกับความปลอดภัยทางถนน


19-20 มกราคม 2562 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ

บทเรียนหลังลองเรียน

จบไปแล้วกับการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ
วันนี้จึงอยากชวนทุกคนมาดูไฮไลท์ของงาน มั่นใจได้เลยว่า อ่านจบแล้วอาจจะอยากให้เราจัดรุ่นที่  2 อีกก็เป็นได้
 
10 Main Point
  1. แผนที่มีประสิทธิผล = แผนที่มีคุณภาพ (Quality) * ได้รับการยอมรับ (Acceptance) จากผู้ปฏิบัติ
  2. เมื่อมีแผน ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจ ยอมรับและทำตาม (แรงต้านของการเปลี่ยนแปลง) ต้องทำให้เห็นว่า ทำไมต้องเปลี่ยน...เปลี่ยนแล้วได้อะไร?
  3. จงใช้เวลาวางแผนอย่างเป็นระบบก่อนลงมือทำ || การทดลองจะช่วยลดข้อผิดพลาด แต่อาจต้องแลกด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น
  4. ความใส่ใจไม่ควรเกิดขึ้นเมื่อ "มีคนมาสอดส่อง/ไม่มีคนเห็น...ไม่เป็นไร"
  5. ควรมีแผน 2 / Plan B (Contingency Plan) และแผนป้องกัน (Mitigation Plan) เสมอ
  6. ถ้านึกถึงความเสี่ยง ให้นึกถึง "What can go wrong?"
  7. ยิ่งเรารักใครมาก เราก็จะยิ่งตระหนักความเสี่ยงมาก
  8. ถ้าไม่โปร่งใสที่จะนับสถิติ/นำเสนอข้อเท็จจริง ผู้บริหารก็อาจจะละเลย (เพราะคิดว่าไม่มีปัญหา)
  9. ถ้าไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง ให้คิดตรงข้าม (Anti-Solution) เช่น ทำยังไงให้ตื่น เป็น ทำยังไงให้ง่วง
  10. แม้สาเหตุนั้นจะมีคนเสนอ/คนโหวตแค่ 1 เสียง ก็ต้องนำไปหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป (เสียงของทุกคนดังเท่ากัน ไม่ได้เลือกเฉพาะสาเหตุที่มีคนโหวตเยอะที่สุด)

เครื่องมือยอดฮิตที่ทุกคนพูดถึง

  1. 5 why: การถามต่อ ที่มีนัยยะเหมือนการหาเรื่อง แต่แอบแฝงไปด้วยการขุด ค้นรากของปัญหา รู้ว่าปัญหาเกิดตรงไหน 
  2. Fishbone Diagram (6M): แม้บางครั้งจะไม่รู้ว่า ควรจะจัดไว้ใน M ตัวไหน แต่ก็พอจะทำให้เห็นภาพรวมของสาเหตุของปัญหา 
  3. Visualize Graphical: การเลือกข้อมูลมาทำกราฟ ซึ่งเป็นกลยุทธเด็ดของการสื่อสารที่จะทำให้ผู้บริหารตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อโครงการที่คุณนำเสนอ

 9 บทเรียนจากเกม

  1. วิธีการต่อรอง/การสื่อสาร: ลองต่อดีกว่าไม่ได้ลองทำอะไรเลย
  2. บางครั้ง "ข้อจำกัด/ความท้าทาย" ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราพยายามมากขึ้น จนผลลัพธ์มันออกมาดีเกินคาด เช่น มีคนเคยทำได้ดี เราก็อาจจะทำได้ดีกว่า
  3. การทดลองช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันข้อผิดพลาด
  4. การแก้ไขปัญหาอะไรสักอย่าง อาจต้องเริ่มต้นด้วยการตีโจทย์ให้ชัดเจนก่อน
  5. "รับและฟัง" ความต่างของคนอื่น/คนในทีม เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายเดียวกัน
  6. Idea ของคนที่เป็นผู้นำหรือคนที่คิดได้ไวกว่า มักจะเป็นสิ่งที่นำไปใช้มากกว่าคนที่เป็นผู้ตามหรือคนที่คิดได้ช้า
  7. บ่อยครั้งที่จะมีเสียงข้างนอกตั้งคำถามว่า "ทำไมทำแบบนี้" ซึ่งเขาอาจจะว่าเรากำลังทำอะไร อยู่ภายใต้บริบทแบบไหน
  8. ไม่มีใครอยากทำให้ทีมล้มเหลว เพราะในความเป็นจริงทุกคนมีโอกาสพลาดเสมอ
  9. งานทุกอย่างมีปัญหา แต่มักจะมีทางแก้ไข (หลายทาง)

 สุดท้ายนี้

เราหวังลึกๆว่า "ความรู้ทั้ง 2 หลักสูตรที่เราตั้งใจจะส่งมอบให้นี้"

 จะเป็นประโยชน์กับการทำงานของทุกๆ คน ที่มีบทบาท หน้าที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางถนนในสถานประกอบการ

และยิ่งไปกว่านั้น คือ ได้ส่งต่อไปถึงผู้อื่นที่กำลังอยู่ในสภาวะเสี่ยงให้มีความปลอดภัยอย่างที่ควรจะเป็น.

เอกสารประกอบการจัดอบรมฯ

Download (Handout) Effective Problem Solving 

Download (Slide) Effective Problem Solving

Download (Case study-ถ้ำหลวง) Effective Problem Solving

Download (Handout) Risk Management

Download (Slide) Risk Management

Download (Template) Risk Management (A3)

© 2018 - www.roadsafetythai.org All rights reserved